วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556


รำวงมาตรฐาน หมายถึง ศิลปะแห่งการฟ้อนรำให้เข้ากับจังหวะหน้าทับ ใช้ท่ารำที่เป็นแบบฉบับมาตรฐานโดยรำเป็นวงกลม หันหน้าทวนเข็มนาฬิกา การรำวงมาตรฐานเป็นการรำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยการดูแลของกรมศิลปากรร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ช่วยกันจัดทำขึ้น เพื่อให้เป็นแบบแผนในการใช้ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ไทย
ในปัจจุบันนี้เป็นศิลปะแห่งการรำวงที่งดงาม ซึ่งในสมัยก่อนยังมิได้มีคำว่า "มาตรฐาน" จะเรียกกันเพียงว่า "รำวง" เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน การเล่นรำวงนั้นสืบเนื่องมาจากการเล่นรำโทน นั้นเพราะในสมัยก่อนเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบจังหวะก็คือ โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโม่ง

การแต่งกาย


การแต่งกายมีการกำหนดการแต่งกายของผู้แสดง ให้มีระเบียบด้วยการใช้ชุดไทย และชุดสากลนิยมโดยแต่งเป็นคู่ ๆ รับกันทั้งชายและหญิง สามารถแต่งได้ 4 แบบ คือ
แบบที่ 1 แบบชาวบ้าน
ชาย : นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอพวงมาลัย เอวคาดผ้าห้อยชายด้านหน้า
หญิง : นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบอัดจีบ ปล่อยผม ประดับดอกไม้ที่ผมด้านซ้าย คาดเข็มขัดใส่เครื่องประดับ
แบบที่ 2 แบบราชกาลที่ 5
ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคด ราชปะแตน ใส่ถุงเท้า รองเท้า
หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ สไบพาดบ่าผูกเป็นโบว์ ทิ้งชายไว้ข้างลำตัวด้านซ้าย ใส่เครื่องประดับมุก
แบบที่ 3 แบบสากลนิยม
ชาย นุ่งกางเกง สวมสูท ผูกไท้
หญิง นุ่งกระโบรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอก
แบบที 4 แบบราตรีสโมสร
ชาย นุ่งกางเกง สวมเสื้อพระราชทาน ผ้าคาดห้อยจากด้านหน้า
หญิง นุ่งกระโปรงยาวจีบหน้านาง ใส่เสื้อจับเดรป ชายผ้าห้อยจากบ่าลงไป ทางด้านหลัง เปิดไหล่ขวา ศีรษะทำผมเกล้าเป็นมวยสูง ใส่เกียว และ เครื่องประดับ